แนวทางการยื่นขอรับใบอนุญาต
กรณีการยื่นขอรับใบอนุญาตแบบ ก แบบ ข และแบบ ค ให้ดำเนินการ ดังนี้
- ตรวจสอบว่ามีบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นกลุ่มนิติบุคคลเดียวกันหรือไม่
- ตรวจสอบใบอนุญาตเดิมที่ บริษัท และ บริษัทในกลุ่มนิติบุคคลเดียวกันมีในปัจจุบัน
- ตรวจสอบประเภทใบอนุญาตที่ที่ต้องคืน
- ตรวจสอบคุณสมบัติว่า บริษัทเป็นนิติบุคลที่สามารถยื่นขอรับใบอนุญาตตามประเภทใบอนุญาตนั้น ๆ ได้หรือไม่ เมื่อพิจารณาว่ามีคุณสมบัติครบถ้วนตามประเภทของใบอนุญาตแล้ว ให้ยื่นแบบคำขอรับความเห็นชอบ รายละเอียดประกอบแบบคำขอ และเอกสารหลักฐานประกอบแบบคำขอ พร้อมเอกสารที่เกี่ยวข้อง
บริษัทในกลุ่มนิติบุคคลเดียวกัน หมายความว่า กลุ่มของนิติบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกันในโครงสร้างการถือหุ้น โดยนิติบุคคลทุกรายมีความสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะเป็นบริษัทใหญ่หรือบริษัทย่อย หรือนิติบุคคลในกลุ่มมีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมเป็นจำนวนหรือรวมกันเกินกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น
คุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต
- แบบ ก
1.1 บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึงบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการเป็นนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ หรือหน่วยลงทุน
1.2 บริษัทหลักทรัพย์นอกเหนือจากบริษัทหลักทรัพย์ตาม 1 แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นสถาบันการเงินแล้ว
1.3 ธนาคารพาณิชย์
1.4 สถาบันการเงินอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
1.5 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ก
- แบบ ข
2.1 บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการค้าหลักทรัพย์หรือการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้
2.2 ธนาคารพาณิชย์
2.3 สถาบันการเงินอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด
2.4 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ข
- แบบ ค
3.1 บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทการจัดการกองทุนรวม
3.2 บริษัทหลักทรัพย์นอกเหนือจากบริษัทหลักทรัพย์ตาม 1 แต่ไม่รวมถึงสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายอื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายหลังจากมีสถานะเป็นสถาบันการเงินแล้ว
3.3 ธนาคารพาณิชย์
3.4 บริษัทประกันชีวิต
3.5 สถาบันการเงินอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (ระบุ : ……………………)
3.6 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค โดยมีผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือหลายรายดังต่อไปนี้ซึ่งถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด
- นิติบุคคลตาม 2 3 4 หรือ 5
- บริษัทที่ถือหุ้นในนิติบุคคลตาม 2 3 4 หรือ 5 รายใดรายหนึ่ง ไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของนิติบุคคลนั้น หรือ
3.7 บริษัทนอกเหนือจากบริษัทตาม 6 ที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ค
- แบบ ง
4.1 บริษัทหลักทรัพย์
4.2 ธนาคารพาณิชย์
4.3 บริษัทประกันชีวิต
4.4 สถาบันการเงินอื่นตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (ระบุ : ……………………)
4.5 บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์แบบ ง
คุณสมบัติ
- มีทุนจดทะเบียนซึ่งชำระแล้วไม่น้อยกว่าที่ประกาศกำหนด โดยกำหนดให้
1.1 แบบ ก มีทุนเรียกชำระแล้ว 500 ล้านบาท
1.2 แบบ ข แบบ ค แบบ ง และประเภทกิจการยืมและยืมหลักทรัพย์ มีทุนเรียกชำระแล้ว 100 ล้านบาท
1.3 ประเภทที่ปรึกษาการลงทุน และกิจการเงินร่วมลงทุน มีทุนเรียกชำระแล้ว 1 ล้านบาท
- ไม่มีฐานะทางการเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือมีพฤติการณ์อื่นที่แสดงให้เห็นว่าอยู่ระหว่างประสบปัญหาทางการเงิน รวมทั้งไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่ามีข้อบกพร่องหรือมีความไม่เหมาะสมเกี่ยวกับการควบคุมและการปฏิบัติงานของธุรกิจ
- สามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินสำรองได้ตามเกณฑ์
- กรรมการ ผู้จัดการ บุคคลผู้มีอำนาจในการจัดการมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม (ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน ลงวันที่ 15 กันยายน 2553)
- ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไม่มีลักษณะต้องห้าม
บุคคลที่เกี่ยวข้อง
กฎหมายกำหนดบุคคลดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับใบอนุญาตต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน รวมทั้งจะต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามหรือต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่กำหนดด้วย
- ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่า 10% ขึ้นไป (ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2543)
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ประกาศที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่
- ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ.33/2545เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 26/2545เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550
- กรรมการ ผู้จัดการ (ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2552)
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ
ประกาศที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทธ/น/ข. 7/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อื่น
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 49/2549เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553
- ประกาศเรื่อง จรรยาบรรณสำหรับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (Code of Ethics) ที่ อธ./น. 3/2542
พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า
ประกาศที่เกี่ยวข้อง
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน
- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า
- ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553
วิธีการยื่น
เอกสารการยื่นคำขอรับใบอนุญาต ประกอบด้วยเอกสาร 3 ส่วน ดังนี้
- แบบคำขอ กรอกโดยบริษัทที่ยื่นขอรับใบอนุญาต (ยื่นแบบเดี่ยว) หรือบริษัทที่รับมอบอำนาจจากบริษัทในกลุ่มนิติบุคคลเดียวกันให้เป็นผู้ยื่นขอ (ยื่นแบบกลุ่ม) และลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลของผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับมอบอำนาจทุกหน้า จำนวน 1 ชุด
- รายละเอียดประกอบแบบคำขอ ให้ทุกบริษัทที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้กรอกข้อมูลบริษัทละ 1 ชุด และลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลของผู้ขอรับใบอนุญาตหรือผู้รับมอบอำนาจทุกหน้า
- เอกสารหลักฐานประกอบแบบคำขอ ให้ทุกบริษัทที่ขอรับใบอนุญาตจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต้นฉบับบริษัทละ 1 ชุด และลงนามโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้รับมอบอำนาจทุกหน้า
ค่าธรรมเนียม
- คำขอรับใบอนุญาตธุรกิจหลักทรัพย์ ฉบับละ 30,000 บ.
- คำขอรับใบอนุญาตธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ฉบับละ 30,000 บ.
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ (กฎกระทรวง พ.ศ. 2551)
- ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประกาศ กธ/น/ข. 14/2551)
ทั้งนี้ หากยื่นคำขอรับใบอนุญาตมาพร้อมกันทั้งธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมคำขอรับใบอนุญาตในธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (30,000 บาท)
การเริ่มประกอบธุรกิจ
ผู้ได้รับใบอนุญาตจะเริ่มประกอบธุรกิจตามประเภทที่กำหนดในใบอนุญาตได้ต่อเมื่อสำนักงานตรวจสอบแล้วเห็นว่าผู้ได้รับใบอนุญาตสามารถแสดงได้ถึงเรื่องดังต่อไปนี้
- มีการบริหารงานที่ดีและมีประสิทธิภาพ
- มีนโยบายและมาตรการในการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์การป้องกันการล่วงรู้ข้อมูลภายในระหว่างหน่วยงานและบุคลากร การควบคุมภายใน และการบริหารความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีมาตรการในการควบคุมและติดตามให้มีการดำเนินงานตามนโยบายและมาตรการที่วางไว้
- มีระบบงานที่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจ
- มีความพร้อมด้านบุคลากรเพื่อรับผิดชอบงานด้านธุรกิจหลักทรัพย์ตามประเภทที่ขอเริ่มประกอบธุรกิจ
ทั้งนี้ ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่กำหนดในใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ภายใน 180 วันนับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
การจดทะเบียนธุรกิจ
ในปัจจุบันผู้ที่สนใจสามารถยื่นขอรับการจดทะเบียนเพื่อประกอบธุรกิจได้ 2 ประเภท ได้แก่ การเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้า โดยจะต้องได้รับการจดทะเบียนกับสำนักงาน ทั้งนี้ ผู้ได้รับการจดทะเบียนจะสามารถประกอบธุรกิจดังกล่าวได้เฉพาะกับนักลงทุนสถาบันที่ประกาศกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าหรือที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนดภายหลัง ซึ่งเป็นการซื้อขายนอกศูนย์ซื้อขายสัญญาฯ เท่านั้น โดยหากต้องการขยายการประกอบธุรกิจการเป็นตัวแทนนไปยังกลุ่มลูกค้ารายย่อยหรือประชาชนทั่วไปภายในศูนย์ซื้อขายสัญญาฯ จะต้องยื่นขอใบอนุญาตเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาฯ ภายใต้ พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายล่วงหน้าอีกประเภทหนึ่งด้วย
ผู้ที่สามารถยื่นขอรับจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า มีดังนี้ (ประกาศ กธ. 7/2547)
1. ธนาคารพาณิชย์
- บริษัทเงินทุน
- บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์หรือค้าหลักทรัพย์ที่มิได้จำกัดเฉพาะหลักทรัพย์อันเป็นตราสารแห่งหนี้ ภายใต้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ (ต้องได้รับความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจอื่นภายใต้มาตรา 98(8) แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก่อน)
- บริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับใบอนุญาตประเภทการให้สินเชื่อเพื่อธุรกิจหลักทรัพย์ (ต้องได้รับความเห็นชอบให้ประกอบธุรกิจอื่นภายใต้มาตรา 98(8) แห่ง พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ก่อน)
- นิติบุคคลต่างประเทศที่เป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศนั้นๆ (เฉพาะกรณีการยื่นขอรับการจดทะเบียนเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้ากับสำนักงาน)
ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน หรือบริษัทหลักทรัพย์ที่ยื่นคำขอจะต้องแสดงได้ว่า 1) จะมีระบบป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (conflict of interest) และการล่วงรู้ข้อมูลภายใน (insider trading) ที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งมีระบบกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามระบบดังกล่าว และ 2) สามารถดำรงเงินกองทุนและกันเงินทุนสำรอง (กรณีธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน) หรือดำรงเงินกองทุนสภาพคล่องสุทธิ (กรณีบริษัทหลักทรัพย์) ได้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ควบคุมการประกอบธุรกิจของนิติบุคคลนั้น นอกจากนี้ หากผู้ยื่นคำขอเป็นธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุน จะต้องได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากหน่วยงานหลักที่กำกับดูแล ( เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือกระทรวงการคลัง) ก่อน และในกรณีบริษัทหลักทรัพย์ จะต้องมีนโยบายและมาตรการในการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งมีระบบกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามนโยบายหรือมาตรการดังกล่าว
สำหรับผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นนิติบุคคลต่างประเทศ สำนักงาน ก.ล.ต. จะรับจดทะเบียนเมื่อหลักเกณฑ์การกำกับดูแลนิติบุคคลของประเทศนั้นเป็นมาตรฐานเดียวกันหรือมีมาตรฐานสูงกว่ามาตรฐานของประเทศไทย และนิติบุคคลดังกล่าวต้องไม่อยู่ระหว่างถูกจำกัดหรือถูกสั่งพักการประกอบธุรกิจเป็นผู้ค้าสัญญาซื้อขายล่วงหน้าในประเทศที่นิติบุคคลนั้นจัดตั้งขึ้น
การยื่นคำขอการจดทะเบียน
ผู้ยื่นคำขอจะต้องยื่น แบบ 16-4 ต่อสำนักงานพร้อมด้วยเอกสารหลักฐานให้ครบถ้วนตามที่กำหนด (ปัจจุบันยังไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม) สำนักงานมีระยะเวลาในการพิจารณาและแจ้งผลภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารหลักฐานครบถ้วน
บุคคลที่เกี่ยวข้อง |
กฎหมายกำหนดบุคคลดังต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับใบอนุญาตหรือผู้ได้รับการจดทะเบียนเป็นตัวแทนซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าต้องได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน รวมทั้งจะต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้ามหรือต้องมีคุณสมบัติขั้นต่ำตามที่กำหนดด้วย |
1. ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เกินกว่า 10% ขึ้นไป (ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550)
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ประกาศที่เกี่ยวข้อง • ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทหลักทรัพย์ต้องขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ • ประกาศคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ กธ. 33/2545เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการขอรับความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทหลักทรัพย์ • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ/น. 26/2545เรื่อง กำหนดปัจจัยในการพิจารณาความร้ายแรงของพฤติกรรมอันเป็นลักษณะต้องห้ามสำหรับบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์ • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 31/2543 เรื่อง การกำหนดแบบในการยื่นขอรับความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทหลักทรัพย์
พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศที่เกี่ยวข้อง • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบบุคคลที่เป็นหรือจะเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2550 |
2. กรรมการ ผู้จัดการ หรือผู้ดำรงตำแหน่งตามที่คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกาศกำหนด (มาตรา 24 ประกาศ ทธ/น/ข. 85/2552 ประกาศ ทธ/น/ข. 87/2552และ ประกาศ อธ/น/ข. 11/2548) ทั้งนี้ ต้องมีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 4 ของจำนวนกรรมการของบริษัท (มีผลใช้บังคับวันที่ 1 มกราคม 2550) (ประกาศ ทธ.80/2552)
พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ประกาศที่เกี่ยวข้อง • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 58/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามอย่างอื่นของกรรมการและผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์- ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนที่ ทธ/น/ข. 7/2553 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์อื่น • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ที่ สธ. 49/2549 เรื่อง หลักเกณฑ์ในการผ่อนผันการจัดให้มีกรรมการอิสระของบริษัทหลักทรัพย์ • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553 • ประกาศเรื่อง จรรยาบรรณสำหรับผู้บริหารของบริษัทหลักทรัพย์ (Code of Ethics) ที่ อธ./น. 3/2542
พ.ร.บ. สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ประกาศที่เกี่ยวข้อง • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 37/2553 เรื่อง ลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน • ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทธ/น/ข. 87/2552 เรื่อง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการและผู้บริหารของผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า • ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ว่าด้วยแนวปฏิบัติในการขอความเห็นชอบและการให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการหรือผู้จัดการของบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. 2553
|
3. ผู้ติดต่อกับผู้ลงทุน (ประกาศ สข. 25/2548) |
รับปิดงบการเงิน ปี2562
รับปิดงบการเงิน ปี2563
รับจดทะเบียนบริษัท